วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ผักชีลาว ของดีที่ควรรู้ไว้



ผักชีลาว (Dill) เป็นผักพื้นบ้านในตะกูลเดียวกันกับผักชีที่นิยมรับประทานมากของชาวอีสาน และประเทศเพื่อนบ้านในฝั่งลาว จนเป็นที่มาของชื่อ โดยนิยมนำมาประกอบอาหารจำพวกแกง และห่อหมกเป็นหลัก เช่น แกงอ่อม แกงปลา ห่อหมกปลา เป็นต้น รวมถึง นิยมใช้รับประทานเป็นผักคู่กับอาหารจำพวกลาบ และยำ เช่น ลาบเนื้อ ลาบหมู ซุบหน่อไม้ เป็นต้น

เนื่องจากผักชีลาวมีกลิ่นหอมแรง และมีกลิ่นเฉพาะตัว จึงยังเป็นที่นิยมของคนในบางพื้นที่เท่านั้น โดยเฉพาะคนอีสาน และคนภาคเหนือในบางแห่ง ส่วนภาคอื่นๆ ความนิยมยังมีน้อย เนื่องจากยังไม่คุ้นเคยกับกลิ่น และบางคนไม่ชอบผักที่มีกลิ่นฉุนมาก


🌿🌿สรรพคุณผักชีลาว🌿🌿

🍀ต้น ใช้บำรุงธาตุ แก้ไข้ แก้สะอึก แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้คลื่นไส้อาเจียน แก้เจ็บตา แก้ปวดท้องในเด็ก แก้บวม แก้เหน็บชา

🍀ต้นสด มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อกลากเกลื้อน

🍀ผล มีรสขม เผ็ดเล็กน้อย ใช้ขับลมในลำไส้ แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้ไอ แก้หอบหืด แก้คลื่นไส้ บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง แก้เสมหะพิการ เจริญอาหาร แก้นอนสะดุ้ง คลุ้มคลั่ง ขับปัสสาวะ ลดความดันโลหิต ลดไขมันและน้ำตาลในเลือด ฆ่าเชื้อบิดและเชื้อที่ทำให้ท้องเสีย

🍀เมล็ด ช่วยขับลม แก้หอบ บำรุงปอด แก้ไอ แก้ลมที่ทำให้สะอึก แก้ลมวิงเวียน แก้อาเจียน

🍀ใบ ช่วยในการทำงานของกระเพาะอาหาร ม้าม และตับ

🍀ราก แก้ระคายคอ

🌿🌿ข้อควรระวังในการรับประทานผักชีลาว🌿🌿

ผักชีลาวมีประโยชน์มากมายอย่างที่เราได้ทราบกันไป แต่ปริมาณการรับประทานก็ควรอยู่ในปริมาณที่จำกัดค่ะ เพราะผักชีลาวเองก็ส่งผลข้างเคียงต่อสุขภาพได้เช่นกัน เนื่องจากการรับประทานผักชีลาวมากเกินไปอาจทำให้ผิวหนังไวต่อแสงและอาจทำให้เป็นผื่นแดงได้ ดังนั้นหากจะรับประทานผักชีลาวแบบปลอดภัยไร้ผลข้างเคียง ควรให้แพทย์กำหนดปริมาณการใช้ที่ปลอดภัยให้ นอกจากนี้ผู้ที่ป่วยเป็นโรคลมชัก ห้ามใช้น้ำมันหอมระเหยผักชีลาวเด็ดขาด เพราะอาจทำให้อาการแย่ลง

ประโยชน์ของผักชีลาวเยอะมากมายขนาดนี้ ใครจะปฏิเสธได้ลงอีกล่ะเนอะ ของดีอยู่ใกล้ตัวแบบนี้ก็ห้ามพลาดกันนะ แต่ถ้าไม่สะดวกที่จะรับประทานสด ๆ หรือปรุงในอาหาร ก็ลองหาแบบที่เป็นน้ำมันหอมระเหย หรือสารสกัดในรูปแบบอาหารเสริมได้ เริ่มบำรุงสุขภาพกันตั้งแต่วันนี้บอกเลยไม่มีคำว่าสายค่ะ

วันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ถั่วฝักยาว ประโยชน์ไม่ธรรมดา

สำหรับใครที่สงสัยว่าถั่วฝักยาวนั้นมีประโยชน์แค่นำมาประกอบอาหารหรือเปล่า วันนี้เรามีคำตอบที่จะทำให้ทุกคนต้องตะลึงมาฝาก เพราะผักธรรมดา ๆ อย่างถั่วฝักยาวที่เราทานกันบ่อย ๆ นั้น มีสรรพคุณเยอะ ประโยชน์แยะ ถึงขนาดป้องกันโรคมะเร็งได้เลยทีเดียว แต่ก่อนจะไปดูสรรพคุณและประโยชน์ที่มากมายของถั่วฝักยาว เรามาทำความรู้จักถั่วฝักยาวให้มากขึ้นกันก่อนค่ะ

ถั่วฝักยาว ภาษาอังกฤษคือ yardlong bean เป็นพืชล้มลุกตระกูลเดียวกับพวกถั่วต่าง ๆ อย่าง ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วแปบ คืออยู่ในวงศ์ Fubaceae มีลักษณะพิเศษที่ทำให้แตกต่างจากถั่วชนิดอื่นอย่างชัดเจน ด้วยฝักสีเขียวที่ยาวสะดุดตา โดยคนไทยเรานิยมนำไปประกอบอาหารหลากหลายประเภท ทั้ง ผัด แกง ตำแทนมะละกอ และใช้เป็นส่วนผสมของอาหารอื่น ๆ แต่ที่นิยมที่สุดคือนำมากินสด ๆ หรือเป็นเครื่องเคียงคู่กับน้ำพริกและอาหารรสจัด เพราะถั่วฝักยาวจะช่วยลดความเข้มข้นของอาหารลงได้

ถั่วฝักยาว กับสรรพคุณทางยาดี ๆ
👉ราก : รักษาโรคหนองในและโรคบิด ทำให้เจริญอาหาร และช่วยบำรุงม้ามได้
👉ฝักสด : ระงับอาการปวด หรือตำคั้นเอาน้ำมาดื่มแก้ท้องอืดแน่น เรอเปรี้ยว เนื่องจากกินมากไป
👉เปลือกฝัก : ลดอาการปวดบวม และช่วยรักษาแผลที่เต้านม
👉ใบ : ใช้ต้มน้ำกิน แก้ปัสสาวะพิการ รักษาหนองใน และปัสสาวะเป็นหนองได้
👉เมล็ด : แก้กระหายน้ำ อาการอาเจียน โรคบิด ปัสสาวะกะปริบกะปรอย และตกขาว อีกทั้งยังช่วยบำรุงม้ามและไตด้วย

ถั่วฝักยาวกับประโยชน์มหาศาล
1. นำมาประกอบอาหาร
แน่นอนว่าประโยชน์อันดับหนึ่งของถั่วฝักยาวก็คือนำมาทำเป็นอาหาร เช่น ตำ ผัด แกง ทำของหวาน และลวกเป็นเครื่องเคียง เพราะเป็นผักที่ฉ่ำน้ำ กรอบ มีรสหวานมัน และไม่เหม็นเขียว ยิ่งถ้าทานคู่กับอาหารรสจัดจะช่วยลดความเข้มข้นของอาหารนั้น ๆ ให้กลมกล่อมพอดีได้ นอกจากนี้ ยังมีการนำถั่วฝักยาวไปบรรจุกระป๋องหรือแช่แข็งเพื่อส่งออกไปขายยังต่างประเทศ และนำไปใช้เป็นพืชสมุนไพรรักษาโรคต่าง ๆ ได้อีกด้วย
2. ดูแลผิวพรรณ
ในถั่วฝักยาวมีวิตามินซีเป็นส่วนประกอบอยู่ค่อนข้างมาก และอย่างที่เรารู้กันดีว่าวิตามินซีเป็นสารสำคัญที่ช่วยดูแลผิว ทั้งลดริ้วรอย รอยแดง ยืดอายุผิว และช่วยบำรุงไม่ให้ผิวแห้ง อีกทั้งยังเป็นสารที่สำคัญต่อผิวหนัง หลอดเลือด และเส้นเอ็นในร่างกายเรา แถมถ้าเรากินอาหารที่มีวิตามินซีสูงบ่อย ๆ สามารถช่วยป้องกันไม่ให้เป็นโรคมะเร็งผิวหนังได้ด้วยนะ
3. เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
ใคร ๆ ก็อยากมีภูมิคุ้มกันสูงเพื่อจะได้ป้องกันการเจ็บไข้ได้ป่วยใช่ไหมคะ งั้นเราขอแนะนำถั่วฝักยาวเป็นทางเลือกในการช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน เพราะการทานถั่วฝักยาวจะไปช่วยเสริมการทำงานของฮีโมโกลบิน ทำให้มีออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ในร่างกายได้ทั่วถึง ส่งผลให้เราไม่อ่อนเพลีย แถมในถั่วฝักยาวยังมีวิตามินซีที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ป้องกันโรคหวัด


4. ช่วยให้นอนหลับสนิท
ถ้าร่างกายเราขาดแมกนีเซียม อาจทำให้เรามีอาการผิดปกติเกี่ยวกับการนอนได้ เพราะแมกนีเซียมเป็นแร่ธาตุจำเป็นที่ช่วยบรรเทาความเครียดและทำให้สมองผ่อนคลาย หากขาดไปก็ทำให้เราวิตกกังวล เครียด จนนอนไม่หลับได้ง่าย ฉะนั้นการทานถั่วฝักยาวซึ่งมีแมกนีเซียมสูง จึงช่วยให้สมองผ่อนคลายมากขึ้น และเครียดน้อยลง ซึ่งทำให้เรานอนหลับได้สนิทขึ้นค่ะ
5. บำรุงสายตา
วิตามินเอและวิตามินบี 1 สามารถบำรุงสายตา ป้องกันไม่ให้ประสาทตาเสื่อม ป้องกันโรคเกี่ยวกับดวงตา เช่น โรคต้อกระจก ต้อหิน และยังช่วยให้สายตาเรามองเห็นได้ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งถ้าใครที่ยังไม่มีปัญหาสายตา เราขอแนะนำให้กินถั่วฝักยาวหรืออาหารที่มีวิตามินเอและวิตามินบี 1 เยอะ ๆ เพื่อช่วยบำรุงสายตาและป้องกันโรคเกี่ยวกับตาไว้ก่อนเลย หรือถ้าใครที่มีปัญหาเกี่ยวกับสายตาแล้ว ก็สามารถทานถั่วฝักยาว เพื่อช่วยบำรุงให้สายตากลับมาเป็นปกติได้นะคะ
6. ช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง
เพราะว่าในถั่วฝักยาวมีแคลเซียม ธาตุเหล็ก และฟอสฟอรัสอยู่เยอะ เมื่อธาตุทั้งสามทำงานรวมกันก็ช่วยทำให้เส้นผม ฟัน และกระดูกของเราแข็งแรงขึ้นได้ ลดความเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุนสบาย ๆ เลยค่ะ
7. ป้องกันเบาหวาน
ถั่วฝักยาวมีคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลที่ดีต่อสุขภาพ แถมยังมีไฟเบอร์เยอะ ซึ่งช่วยให้น้ำตาลย่อยช้าลง จึงสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี และช่วยป้องกันโรคเบาหวานได้
8. บำรุงครรภ์
มีการศึกษาพบว่าการทานอาหารที่ประกอบไปด้วยโฟเลต หรือวิตามินบี 9 เยอะ ๆ สามารถลดความเสี่ยงภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (neural tube defect, NTD) ได้ถึง 26% เลยทีเดียว ซึ่งภาวะหลอดประสาทไม่ปิดนี้เป็นอันตรายกับลูกในท้องมากเลยนะคะ เพราะอาจทำให้เด็กพิการตั้งแต่กำเนิด ดั้งนั้นคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ หรือมีแผนจะตั้งครรภ์ควรรับประทานถั่วฝักยาวและอาหารที่มีโฟเลตบ่อย ๆ เพื่อช่วยให้ลูกน้อยลดความเสี่ยงโรคนี้และให้ได้รับสารอาหารอื่น ๆ เพื่อช่วยบำรุงครรภ์ค่ะ
9. ลดความเสี่ยงเป็นเกาต์
อาการเท้าบวมของโรคเกาต์นั้นมีสาเหตุมาจากการสะสมของกรดยูริกในข้อเท้าที่มากเกินไป ซึ่งจริง ๆ แล้วเราสามารถลดกรดยูริกและลดความเสี่ยงโรคเกาต์ได้ง่าย ๆ เพียงแค่ทานวิตามินซีให้มากขึ้น อ้างอิงจากการศึกษาที่พบว่าผู้ที่ทานวิตามินซีประมาณ 1,000-1,499 มิลลิกรัมเป็นประจำ สามารถลดความเสี่ยงในการเป็นโรคเกาต์ได้ถึง 31% ฉะนั้นแค่เราทานผัก-ผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง ๆ อย่างเช่น ถั่วฝักยาวก็สามารถป้องกันโรคเกาต์ได้ง่าย ๆ แล้ว
10. มีสารต้านอนุมูลอิสระ
ในเมื่อถั่วฝักยาวเป็นผักที่มีวิตามินซีสูง จึงมีสารต้านอนุมูลอิสระมากไปด้วยค่ะ เพราะวิตามินซีก็คือสารต้านอนุมูลอิสระชนิดหนึ่ง ซึ่งจะช่วยปกป้องเซลล์ร่างกายไม่ให้ถูกสารพิษ สารเคมี อนุมูลอิสระมาทำลาย พร้อมกับช่วยลดอาการอักเสบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในร่างกาย
11. บำรุงหัวใจให้แข็งแรง
ประโยชน์ดี ๆ ของถั่วฝักยาวยังไม่หมดค่ะ เพราะนอกจากสิ่งดี ๆ ข้างบนแล้ว ถั่วฝักยาวยังสามารถลดปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจได้ด้วย เพราะในถั่วฝักยาวอุดมไปสารอาหารมากมายที่ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล และลดความเสี่ยงหลอดเลือดอุดตัน และบำรุงหัวใจให้แข็งแรง ห่างไกลโรคหัวใจแบบสบาย ๆ เลย
12. นำมาทำเป็นอาหารสัตว์
นอกเหนือจากประโยชน์ต่าง ๆ ข้างบนแล้ว ถั่วฝักยาวยังนำมาทำเป็นปุ๋ยพืช เพื่อบำรุงดินและควบคุมวัชพืช แถมยังนำเมล็ด ยอด และลำต้นมาทำเป็นอาหารสัตว์ได้ด้วย เพราะถั่วฝักยาวเป็นแหล่งที่มีโปรตีนสูงนั่นเองค่ะ

ข้อควรระวังในการทานถั่วฝักยาว
ถึงจะมีประโยชน์มากมายอย่างไร แต่หากทานถั่วฝักยาวแบบสด ๆ ดิบ ๆ หรือทานมากไปก็อาจทำให้ท้องอืดได้ เพราะในถั่วฝักยาวดิบจะมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และมีเทนอยู่มาก ซึ่งแก๊สพวกนี้ทำให้เกิดกรดเกินในกระเพาะอาหาร จนมีอาการท้องอืด แถมการทานถั่วฝักยาวดิบ ๆ ยังทำให้เราได้รับสารไกลโคโปรตีนเข้าไปเต็ม ๆ ซึ่งสารตัวนี้สามารถทำให้เกิดอาการท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน และเวียนหัวได้ ส่วนใครที่เคี้ยวถั่วฝักยาวไม่ละเอียดแล้วกลืน ก็ต้องระวังว่าถั่วฝักยาวอาจจะไปอุดตันในกระเพาะอาหารและลำไส้ เพราะเป็นผักดิบที่ค่อนข้างเหนียวและแข็งค่ะ

เห็นแล้วใช่ไหมคะ ว่าถั่วฝักยาวที่เราทานนั้นอุดมสมบูรณ์ไปด้วยสารอาหาร แถมให้ประโยชน์ครบถ้วน ถือเป็นผักที่ไม่ธรรมดาอีกหนึ่งชนิดเลย แต่อย่างไรก็และควรทานในปริมาณที่เหมาะสมด้วยนะคะ ไม่เช่นนั้นถั่วฝักยาวอาจให้โทษมากกว่าประโยชน์ก็เป็นได้

วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ปลาเป็นอาหารคู่ชีวิตของคนไทย


กินปลา

ปลา เป็นอาหารคู่ชีวิตของคนไทยจนเราพูดกันติดปากว่า “กินข้าว กินปลา ” ปลาเป็นอาหารที่หาได้ง่ายตามแหล่งน้ำต่าง ๆ ทั้งที่เป็นธรรมชาติและแหล่งน้ำที่จัดสร้างขึ้น คนไทยรู้จักจับปลาเป็นอาหารและขายเป็นสินค้าโดยใช้เครื่องมือง่ายๆ ตลอดจนใช้เครื่องมือที่ทันสมัย ทำให้ประเทศไทยเรามีปลาบริโภคมากมายหลายชนิดและจำหน่ายเป็นสินค้าส่งออกที่นำรายได้เข้าสู่ประเทศ

คุณค่าทางด้านโภชนาการของปลา
ปลาเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เราจัดปลาไว้ในอาหารหลักหมู่ที่หนึ่งในประเภทเนื้อสัตว์ ไข่ นมและถั่วเมล็ดแห้ง โปรตีนในเนื้อปลาจะถูกนำไปใช้ในการเสริมสร้างเนื้อเยื่อและซ่อมแซมสิ่งที่สึกหรอ ไขมันที่มีอยู่ในเนื้อปลาจะเป็นส่วนประกอบของเซลล์ต่าง ๆ โดยเฉพาะสมอง จะป้องกันการจับแข็งตัวของไขมันในเส้นเลือด วิตามิน และแร่ธาตุที่มีอยู่ในเนื้อปลาจะควบคุมการทำงานของร่างกายให้ทำหน้าที่ได้ตามปกติ

ปลากะพง

คุณค่าทางด้านโปรตีน
ปลาชนิดต่าง ๆ ให้โปรตีนในปริมาณที่สูงพอสมควร เนื้อปลา 100 กรัม จะประกอบขึ้นด้วยโปรตีนเป็นจำนวนกรัม ดังนี้ ปลาดุก 23.0 ปลาตะเพียน 22.0 ปลากระบอก 20.7 ปลาช่อน 20.5 ปลาทู 20.0 ปลาแป้น 19.6 ปลาเก๋า 1808 ปลาทรายแดง 18.4 ปลาตาเดียว 18.1 ปลาไส้ตัน 18.0 ปลากราย 17.5 ปลาหมอไทย 17.2 ปลาสวาย 15.4 ปลาหมึกกล้วย 15.2 และปลาเนื้ออ่อน 14.4
นอกจากคุณค่าทางโภชนาการของเนื้อปลาดังกล่าวข้างต้นแล้ว ส่วนประกอบอื่นๆ ของปลา เช่น ไข่ปลา (ปลากระบอก) มีโปรตีนและไขมันสูงเช่นกัน นอกจากนั้นยังประกอบด้วยธาตุแคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินเอ วิตามินบีสอง สูง เช่นกัน ตับปลาโดยเฉพาะปลาทะเล มีปริมาณของ


ดังนั้น เพื่อให้เยาวชนของชาติมีมันสมองที่ฉลาด เป็นกำลังสำคัญในอนาคตและเพื่อให้ผู้ใหญ่ในวันนี้มีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์ ปราศจากโรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจมีประสิทธิภาพในการประกอบอาชีพสูง เราควรนำปลา – อาหารคู่ชีวิต มาประกอบอาหารรับประทานทุกวัน วันนี้ ท่านนึกได้หรือยังว่าจะทำอาหารอะไรดี ถ้าท่านยังนึกไม่ออก เรามีรายการเสนอแนะให้กับท่าน “เนื้อปลากะพงผัดฉ่า” อาหารเมนูนนี้สามารถทำทานที่บ้านก็ได้ หรือสำหรับใครที่ไม่มีเวลาทำ ก็แวะมาชิมลิ้มรสได้ที่ร้าน เดอะโฮมอุบลนะคะ รับรองความแซ่บ

เม็ดแมงลัก สมุนไพรเด็ด ช่วยให้หุ่นสวย สุขภาพดี

เม็ดแมงลัก ไม่ได้มี สรรพคุณ ในการลดน้ำหนักโดยตรง แต่หากต้องการตัวช่วยเพื่อควบคุมการรับประทานอาหาร และช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานดีขึ้น เม็ดแมง...