วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2561

ตำลึง สรรพคุณไม่ไก่กา แม้เป็นผักริมรั้วธรรมดา สรรพคุณทางยาอย่างเยอะ !


ตำลึงเป็นผักริมรั้วที่หากินได้ง่าย มีให้กินตลอดทั้งปี แถมยังราคาถูก นำมาประกอบอาหารก็ทำได้หลากหลายเมนู และหลายคนก็เคยกินตำลึงมาไม่รู้ตั้งเท่าไร แต่เคยทราบสรรพคุณของตำลึงกันไหมคะว่า ผักสมุนไพรตำลึง สรรพคุณเขาแพรวพราวขนาดไหน เอาเป็นว่ากระปุกดอทคอมจะพามาดูประโยชน์ของตำลึง รวมไปถึงสรรพคุณทางยาของตำลึงกันค่ะ

ตำลึง ชื่อทางวิทยาศาสตร์ สรรพคุณมีอะไรบ้าง
ต้นตำลึงมักจะขึ้นตามรั้วบ้าน ที่สำคัญมักจะขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยเฉพาะในฤดูฝน แต่เห็นตำลึงบ้าน ๆ อย่างนี้ก็มีชื่อทางวิทยาศาสตร์กับเขาเหมือนกันนะคะ แถมตำลึงยังมีชื่อสามัญ และชื่อเรียกตามท้องถิ่นอีกหลายชื่อ ตามนี้เลย

ตำลึง ชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Coccinia grandis Voigt และยังมีชื่อสามัญของตำลึงหรือชื่อภาษาอังกฤษว่า Ivy gourd ด้วยนะคะ ส่วนตำลึงในชื่อบ้าน ๆ นั้นเรียกกันอย่างหลากหลาย ทั้งตำลึง สี่บาท (ภาคกลาง) ผักแคบ (ภาคเหนือ) ผักตำนิน (ภาคอีสาน), แคเด๊าะ (แม่ฮ่องสอน) เป็นต้น

ลักษณะทางพฤษศาสตร์ของตำลึง
ตำลึงจัดเป็นพืชในตระกูลไม้เลื้อย มีใบเป็นใบเดี่ยว มีมือเกาะ ใบตำลึงจะแผ่เว้าเป็น 5 แฉก ขนาดใบตำลึงมีความกว้างประมาณ 5-8 เซนติเมตร โคนใบเป็นรูปหัวใจ ปลายใบแหลมมน ผิวใบเกลี้ยง ก้านใบยาว 3-6 เซนติเมตร

ดอกตำลึงมีสีขาว เป็นดอกเดี่ยว แยกเพศ ดอกตำลึงเพศผู้จะมีขนาด 4-6 เซนติเมตร 1 ดอก มีอยู่ 5 กลีบ เกสรตัวผู้ 3 อัน ส่วนดอกตำลึงเพศเมีย เกสรจะแยกเป็น 3-5 แฉก ส่วนกลีบดอกเหมือนดอกตำลึงเพศผู้ทุกประการ

ตำลึงมีผลด้วยนะคะ ผลตำลึงมีรูปทรงป้อม ขอบขนาน ขนาดผลกว้างประมาณ 2.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 5 เซนติเมตร ถ้าผลตำลึงอ่อนจะมีสีเขียว ผลตำลึงแก่จะมีสีส้มออกแดง ข้างในผลตำลึงจะมีเมล็ดลักษณะแบนรี ขนาดประมาณ 2-3 มิลลิเมตร จำนวนมาก

ตำลึง สรรพคุณทางยาก็น่าเด็ดไม่น้อย
สรรพคุณของตำลึงมีประโยชน์แทบจะทุกส่วนของต้นเลยก็ว่าได้ โดยสามารถจำแนกสรรพคุณทางยาของตำลึงได้ดังนี้
- ใบ มีรสเย็น สรรพคุณดับพิษร้อน ถอนพิษ แก้แสบคัน บรรเทาเริม งูสวัด โดยนำใบมาขยี้คั้นเอาแต่น้ำ แล้วทาบริเวณที่เป็น
- เถา มีรสเย็น สรรพคุณช่วยรักษาโรคตาเจ็บ ใช้แก้ตาฟาง ตาช้ำ โดยใช้เถาโขลกพอแหลก แล้วนำมาประคบตา
- ดอก ใช้แก้คัน คั้นเอาแต่น้ำ มาทาบริเวณที่คัน
- ผล รักษาโรคผิวหนัง รักษาอาการอักเสบของหลอดลม และช่วยลดน้ำตาลในเลือด โดยคั้นน้ำจากผลสดมาดื่มวันละ 2 ครั้ง
- เมล็ด นำมาตำกับน้ำมันมะพร้าว ใช้แก้หิด
- ราก ใช้ต้มกับน้ำดื่มลดไข้ ลดอาเจียน
- ต้น ใช้กำจัดกลิ่นตัว น้ำต้มจากต้นตำลึงรักษาเบาหวานได้

วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2561

ผักโขมผักพื้นบ้านชั้นดี


พืชผักพื้นบ้านชั้นดีของคนไทย ที่ปู่ย่าตาทวดของเรารู้จักกินและใช้ประโยชน์มานาน บางท้องที่เรียกว่า “ผักขม” บางคนก็เรียกว่า ผักโขมบ้าน หรือ Amaranth เป็นพืชล้มลุกพุ่มเตี้ยที่แตกกิ่งเล็กกิ่งน้อยออกไปมากมาย พร้อมกับมีหนามแหลมคมซ่อนไว้ที่ซอกใบ มีทั้งแบบที่ลำต้นเป็นสีเขียว และลำต้นเป็นสีน้ำตาลแดง ใบเป็นใบเดี่ยวรูปไข่ ขอบใบหยักเล็กน้อย ดอกออกเป็นช่อสีม่วงปนเขียว เมล็ดมีขนาดเล็กเป็นสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ ผักพื้นบ้านชั้นดีจากแดนอีสาน มากด้วยกากใย และเบต้าแคโรทีนที่ซ่อนไว้ในความขม

ชาวพื้นเมืองโบราณของเม็กซิโกนาม “แอสแท็ก” รู้จักและกินเจ้าผักโขมนี้กันมานานเกินกว่า 2,000 ปีแล้ว แต่เขากินเมล็ดกัน ส่วนพี่ไทยเราชอบใบเขียวๆ ที่อุดมด้วยวิตามินเอ กรดอะมิโน และสารอาหารตัวสำคัญๆ ไว้อย่างสุดยอด

ในแง่ของคุณค่าทางโภชนาการแล้ว ถือว่าเป็นที่สุดของพืชผักสมุนไพรอีกชนิดหนึ่ง เพราะมากด้วยสารอาหารสำคัญไว้อย่างเพียบพร้อมทุกตัว และแต่ละตัวก็มีปริมาณสูงมาก อย่างวิตามินซีที่ให้ถึง 120 มก. ฟอสฟอรัสสูงถึง 76 มก. และแคลเซียม 341 มก. ในปริมาณแค่ 100 กรัมเท่านั้น นี่ยังไม่รวมธาตุอื่นๆ อย่างโปรตีน วิตามินบี 1-บี 2 หรือธาตุเหล็ก ที่อัดแน่นอยู่ในใบเขียวเล็กๆ กว้างแค่ 3-5 ซม. เท่านั้น

ที่สุดจริงๆ ต้องเป็นกากใยอาหารที่เป็นตัวช่วยดักและจับสารไนไตรต์ที่ปนเปื้อนมากับน้ำดื่ม หรืออาหารจำพวกเนื้อที่ต้องผ่านการหมัก อย่างไส้กรอก แหนม ซึ่งอาหารเล่านี้มีสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งได้ ดังนั้น การกินผักโขมบ้านจึงเป็นการลดความเสี่ยงจากการเป็นมะเร็ง รวมทั้งยังได้เพื่อนคู่หูชั้นดีอย่างเบต้าแคโรทีน ตัวพิฆาตมะเร็งร้ายในปริมาณที่สูงถึง 558.76 มก. มาช่วยอีกแรง ก็ยิ่งทำให้โอกาสเป็นมะเร็งแทบจะเป็นศูนย์สนิททีเดียว

ประโยชน์ทางยาของผักโขมบ้านคือ ใบสดใช้ตำพอก ช่วยรักษาแผลพุพอง ลำต้นกินแก้อาการจุกเสียด แน่นหน้าอก ทั้งยังแก้ไอ แก้อาการตกเลือด และช่วยขับปัสสาวะได้อีกต่างหาก

วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2561

เห็ดที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกาย


เห็ด มีสารพัดประโยชน์นาๆชนิด ของเห็ดต่างๆในโลก ในประเทศไทยก็หาพบได้ง่าย เห็ดเหล่านี้ให้คุณค่าทางสุขภาพที่ดีเยี่ยม เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยลดไขมัน มีใยอาหาร เสริมสร้างภูมิต้านทาน รวมไปถึงเสริมสมรรถภาพด้านต่างๆ


1. เห็ดหอม หรือเห็ดชิตาเกะ
เป็นยาอายุวัฒนะ เพราะช่วยลดไขมันในเส้นเลือด อีกทั้งยังเพิ่มภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสและมะเร็งด้วย และมีกรดอะมิโนถึง 21 ชนิด มีวิตามิน บี 1 บี 2 สูง พอๆ กับยีสต์ มีวิตามินดีสูงช่วยบำรุงกระดูกและมีปริมาณโซเดียมต่ำ เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคไต นอกจากนี้ยังมีแคลเซียม ฟอสฟอรัส และเหล็ก ซึ่งช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ช่วยลดความเป็นกรดในกระเพาะอาหาร ช่วยบำรุงกำลัง บรรเทาอาการไข้หวัด ชาวจีนยกให้เห็ดหอมเป็นอาหารต้นตำรับ “อมตะ”


2. เห็ดหูหนู
เป็นกลุ่มคาร์โบไฮเดรต สามารถเพิ่มความแข็งแรงให้เม็ดเลือดขาวในผู้สูงอายุ ทำให้ภูมิต้านทานร่างกายดีขึ้น รวมทั้งช่วยรักษาโรคกระเพาะและริดสีดวง เห็ดหูหนูขาว ช่วยบำรุงปอดและไต


3. เห็ดหลินจือ
มีสารสำคัญ เบต้ากลูแคน ซึ่งมีคุณสมบัติต้านมะเร็ง คนญี่ปุ่นมักใช้ควบคู่กับการรักษาโรคมะเร็งและโรคผู้สูงอายุ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง และโรคความดันโลหิตสูงปัจจุบันยังมีการนำไปเป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางค์อีกด้วย เพราะมีคุณสมบัติช่วยต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้อร้าย รวมทั้งกระตุ้นภูมิคุ้มกันไวรัส


4. เห็ดกระดุมหรือเห็ดแชมปิญอง
รูปร่างกลมมน คล้ายกระดุมที่มีขนาดใหญ่ ผิวเนื้อนวล มีให้เลือกทั้งแบบสดหรือบรรจุกระป๋อง มีบทบาทในการรักษาและป้องกันการเกิดมะเร็งเต้านมมากที่สุด โดยสารบางอย่างในเห็ดนี้ไปช่วยยับยั้งเอนไซม์อะโรมาเตส (aromatase) ทำให้เกิดการยับยั้งการเปลี่ยนฮอร์โมนเอนโดรเจนเป็นฮอร์โมนเอสโตรเจนในผู้ หญิงวัยหมดประจำเดือน เมื่อร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนได้น้อยลงก็ลดโอกาสการเจริญเติบโตของเซลล์ มะเร็งเต้านมให้น้อยลงตามไปด้วย


5. เห็ดนางรม เห็ดนางฟ้า และเห็ดเป๋าฮื้อ
เห็ดสามอย่างนี้อยู่ตระกูลเดียวกัน เจริญเติบโตเป็นช่อๆ คล้ายพัด เห็ดนางรมมีสีขาวอมเทา เห็ดนางฟ้ามีสีขาวอมน้ำตาล ขณะที่เห็ดเป๋าฮื้อจะมีสีคล้ำและเนื้อเหนียวหนาและนุ่มอร่อยคล้ายเนื้อสัตว์ มากกว่า เชื่อว่าสามารถป้องกันโรคหวัด ช่วยการไหลเวียนเลือด และ โรคกระเพาะได้


6. เห็ดฟาง
เป็นเห็ดยอดนิยมของคนไทย นิยมเพาะกันบนกองฟางข้าวชื้นๆ โคนมีสีขาว ส่วนหมวกสีน้ำตาลอมเทา หาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาด ให้วิตามินซีสูง และมีกรดอะมิโนสำคัญอยู่หลายชนิด หากรับประทานเป็นประจำจะช่วยเสริมภูมิคุ้มกันการติดเชื้อต่างๆ อีกทั้งยังช่วยลดความดันโลหิตและเร่งการสมานแผล


7. เห็ดเข็มทอง
เป็นเห็ดสีขาว หัวเล็กๆ ขึ้นติดกันเป็นแพ รสชาติเหนียวนุ่ม นำมารับประทานแบบสดๆ ใส่กับสลัดผักก็ได้ ถ้าชอบสุกก็นำไปย่าง ผัดหรือลวกแบบสุกี้ ถ้ากินเป็นประจำจะช่วยรักษาโรคตับ กระเพาะ และลำไส้อักเสบเรื้อรัง


8. เห็ดโคนหรือเห็ดปลวก
ช่วยเจริญอาหาร บำรุงกำลัง แก้บิด แก้คลื่นไส้ อาเจียน แก้ไอ ละลายเสมหะ การทดลองทางเภสัชศาสตร์พบว่าน้ำที่สกัดจากเห็ดโคนสามารถยับยั้งเชื้อโรคบาง ชนิด เช่น เชื้อไทฟอยด์


9. เห็ดเผาะหรือเห็ดถอบ
นิยมกัน คือ แกงเผ็ด เวลาเคี้ยวแล้วให้ความรู้สึกกรอบ มัน เพราะเห็ดเผาะกรอบ ข้างในกลวง เวลาเคี้ยวแล้วดังเผาะทุกๆครั้ง นิยมกินเห็ดระยะที่อ่อนอยู่ โดยนำไปแกงคั่ว และผัด หรือกินสดเป็นผักจิ้มน้ำพริก รักษาบาดแผล ทำให้กระชุ่มกระชวย บำรุงร่างกาย ชูกำลัง แก้ช้ำใน


10. เห็ดขอนขาวหรือเห็ดมะม่วง
เห็ดขอนมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง แก้ไขพิษ ช่วยระบบขับถ่ายทำงานดีขึ้น สำหรับเห็ดกระด้างสดหรือแบบแห้ง สามารถนำมาต้มกับน้ำจนเดือดให้ผู้ที่มีร่างกายอ่อนเพลียจากการทำงานหรือไม่แข็งแรงเนื่องจากเพิ่งฟื้นจากไข้ สมรรถภาพทางเพศไม่ค่อยจะดี รับประทานทั้งน้ำและเนื้อเห็ดเป็นประจำจะทำให้ร่างกายแข็งแรง จากงานวิจัย พบว่า “แคปซูล” จากสารสกัดเห็ดกระด้าง สามารถลดไขมันในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน และผู้ติดเชื้อ HIV ได้ผลดี จะทำให้ผู้ป่วยมีอายุยืนยาวต่อไปได้อีก สำหรับราคาของเห็ดกระด้างค่อนข้างสูงกว่าเห็ดพื้นเมืองชนิดอื่นๆ จึงได้รับการพัฒนาเพื่อการเพาะปลูกเป็นการค้า


วันนี้ขอแนะนำเมนู “แกงเห็ดรวม” อาหารพื้นบ้านสุดแซ่บของชาวอีสาน ที่ถูกปากถูกใจของใครหลายๆคน รสชาติเห็ดจะหวานๆ แถมมีให้ทานหลายชนิด น้ำแกงซดคล่องคออร่อยสุดๆ กินกับข้าวเหนียวแซ่บอีหลีเด้อ!!! มาทานเมนูอร่อยๆ ได้ที่ร้าน The Home Ubon ถนน เลี่ยงเมือง เทศบาลนครอุบลราชธานี โทรสอบถามหรือจองโต๊ะได้ที่ 085 311 3331 เปิดบริการทุกวัน 17.00-00.00 น.

วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2561

โหระพา สมุนไพรมากประโยชน์


โหระพานั้น ยังเป็นสมุนไพรที่เรียกได้ว่า เป็นแหล่งของสารเบต้าแคโรทีน ซึ่งมีส่วนสำคัญในการป้องกันโรค เช่น โรคหัวใจขาดเลือดและมะเร็ง

ข้อความ
ทั้งนี้จากการตรวจสอบนะคะ พบว่าในโหระพา 1 ขีดนั้น จะมีเบต้าแคโรทีนสูง คือ 452.16 ไมโครกรัม ใบโหระพามีกลิ่นเฉพาะใช้เป็นผักสด ใช้ปรุงแต่งกลิ่นอาหารและมีธาตุแคลเซียมสูงด้วย

ข้อความ
แต่ในวันนี้เราจะมากล่าวถึงสรรพคุณของโหระพาที่มีมากมายเท่าที่เราเคยทราบกันมาค่ะ ทั้งนี้ก็เพราะว่านอกจากจะเป็นอาหารแล้ว โหระพายังเป็นสมุนไพรด้วย เพราะมีสรรพคุณทางยาอย่างคาดไม่ถึงเลยทีเดียว

1. โหระพาสามารถแก้อาการไข้ ปวดศรีษะ ขับเหงื่อ ขับลม ขับเสมหะ ขับพยาธิ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องเสีย ช่วยเจริญอาหาร โดยใช้ยอดอ่อนต้มกับน้ำรับประทานเป็นชาหรือรับประทานเป็นผักสด
2. โหระพาสามารถใช้เป็นยาขับปัสสาวะและยาระบายอ่อน ๆ เพื่อแก้อาการท้องผูก โดยนำเมล็ดแก่แช่น้ำให้พองตัวเต็มที่รับประทานกับขนมหวานโดยผสมกับน้ำหวานและน้ำแข็ง
3. โหระพาสามารถใช้รักษาอาการเหงือกอักเสบเป็นหนอง โดยบดใบโหระพาแห้งให้เป็นผงทาบริเวณที่เป็น
4. โหระพาสามารถบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน โดยคั้นน้ำจากใบโหระพาสด ประมาณ 1ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำอ้อย 2ช้อน รับประทานวันละ 2ครั้ง พร้อมกับน้ำอุ่น
5. โหระพาสามารถแก้สะอึก โดยใช้ใบโหระพาสดหรือแห้งพร้อมขิงสดแช่ในน้ำเดือดรับประทานในขณะที่น้ำยังร้อน
6. โหระพาสามารถนำมาทำเป็นน้ำมันโหระพาสามารถฆ่ายุงและแมลงได้
7.เมล็ดของโหระพาก็มีประโยชน์เช่นกันนะค่ะ เพราะว่าหากเรานำเมล็ดของโหระพาที่แก่แล้วแช่น้ำใช้พอกแผลบรรเทาอาการฟกช้ำ

เป็นอย่างไรกันบ้างล่ะคะ ในเรื่องของประโยชน์ของใบโหระพา ต้องบอกว่านอกจากจะสร้างในเรื่องของกลิ่นของอาหารให้น่าชวนให้น่ารับประทานแล้วเนี่ย ในเรื่องของสรรพคุณต่างๆ วิตามินแร่ธาตุต่างๆนั้น โหระพา ก็มีไม่น้อยเลยใช่ไหมล่ะคะ ดังนั้นหากคุณเป็นคนที่ไม่ชอบทานใบโหระพาในอาหาร ก็ต้องเปลี่ยนใจเสียใหม่ได้แล้วนะคะ เพราะประโยชน์มากขนาดนี้ เขี่ยทิ้งก็เสียดายแล้วล่ะค่ะ

เม็ดแมงลัก สมุนไพรเด็ด ช่วยให้หุ่นสวย สุขภาพดี

เม็ดแมงลัก ไม่ได้มี สรรพคุณ ในการลดน้ำหนักโดยตรง แต่หากต้องการตัวช่วยเพื่อควบคุมการรับประทานอาหาร และช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานดีขึ้น เม็ดแมง...