วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

เม็ดแมงลัก สมุนไพรเด็ด ช่วยให้หุ่นสวย สุขภาพดี


เม็ดแมงลักไม่ได้มีสรรพคุณในการลดน้ำหนักโดยตรง แต่หากต้องการตัวช่วยเพื่อควบคุมการรับประทานอาหาร และช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานดีขึ้น เม็ดแมงลักก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจนะคะ ทั้งนี้ เม็ดแมงลัก สามารถรับประทานได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ รวมทั้งปลอดภัยในหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตรด้วย

เม็ดแมงลัก ถือเป็นสมุนไพรที่มีราคาถูก และหาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาดทั่วไป และเมื่อขึ้นชื่อว่าเป็นสมุนไพร ย่อมต้องมีสรรพคุณดี ๆ ที่น่าสนใจหลายอย่าง ส่วนประโยชน์ของเม็ดแมงลักจะมีอะไรบ้างมาดูกันเลยค่ะ เม็ดแมงลัก ช่วยขับคอเลสเตอรอลไม่ดีออกจากร่างกาย โดยเส้นใยของแมงลักจะดูดซับไขมันไว้ เมื่อร่างกายไม่สามารถย่อยกากใยพวกนี้ได้ ไขมันไม่ดี (LDL-cholesterol) ก็จะถูกขับออกมาพร้อมกับเส้นใยของแมงลัก แต่ไม่มีผลใด ๆ ต่อ HDL-cholesterol ที่เป็นไขมันดี ดังนั้นการรับประทานเม็ดแมงลักเป็นประจำ จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจด้วยเม็ดแมงลัก มีลักษณะนิ่ม ลื่น กลืนง่าย เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาช่วงลำคอ และการที่เม็ดแมงลักพองตัวมาก ทำให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารได้ช้าลง จึงเหมาะกับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ต้องการให้ร่างกายดูดซึมน้ำตาลลดลงด้วยเม็ดแมงลัก มีสรรพคุณเป็นยาระบาย เนื่องจากบริเวณเปลือกนอกของเม็ดเป็นสารเมือกขาว และยังมีกากอาหาร ทำให้อุจจาระไม่เกาะลำไส้ ซึ่งช่วยให้ผู้รับประทานสามารถขับถ่ายได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยเม็ดแมงลักจะไปกระตุ้นประสาทที่อยู่รอบ ๆ ลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย ทำให้เกิดปวดท้องหนักเม็ดแมงลัก มีสรรพคุณในการควบคุมน้ำหนัก เนื่องจากเม็ดแมงลักไม่ก่อให้เกิดพลังงาน และสามารถพองตัวได้ถึง 45 เท่า ดังนั้นเมื่อนำมารับประทานก่อนอาหารก็จะช่วยให้รู้สึกอิ่มท้อง และสามารถควบคุมปริมาณอาหารที่รับประทานได้เป็นอย่างดี

แต่อย่างไรก็ตามต้องออกกำลังกายควบคู่ไปด้วยนะคะ

วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ผักหวานป่าผักบ้านๆที่ประโยชน์ล้นหลาม


ผักหวานป่า ถือว่าเป็นอีกหนึ่งพืชผักสมุนไพรที่มีประโยชน์และสรรพคุณมาก ๆ เลย คนส่วนใหญ่ชอบนำ ผักหวานป่า มาจิ้มกับน้ำพริก แต่วันนี้เราก็มีเรื่องของ สรรพคุณของผักหวานป่า และ ประโยชน์ของผักหวานป่า มาฝากกันอีกเช่นเคย เพื่อให้ทุกคนได้รับรู้ขึ้นสิ่งดี ๆ ที่ร่างกายของคนเราควรจะได้รับจากพืชผักสมุนไพรต่าง ๆ ว่าแล้วเราก็มาทำความรู้จักกับ สรรพคุณของผักหวานป่า และ ประโยชน์ของผักหวานป่า กันบ้างดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง และมีประโยชน์ต่อร่างกายเราอย่างไร และช่วยรักษาโรคอะไรได้บ้างนะ มาดูกันเลยดีกว่ากับ สรรพคุณของผักหวานป่า และ ประโยชน์ของผักหวานป่า

คุณค่าทางอาหารของผักหวานป่า
ผักหวานป่าจัดเป็นผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงชนิดหนึ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านแหล่งโปรตีน วิตามินซี และพลังงาน นอกจากนี้ยังมีปริมาณเยื่อใยพอสมควรช่วยในการขับถ่ายให้ดีขึ้น ในยอดและใบสดที่รับประทานได้ 100 กรัม จะประกอบด้วยน้ำ 76.6 กรัม โปรตีน 8.2 กรัม คาร์โบไฮเดท 10 กรัม เยื่อใย 3.4 กรัม เถ้า 1.8 กรัม แคโรทีน 1.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 115 มิลลิกรัม และค่าพลังงาน 300 กิโลจูล (KJ) อย่างไรก็ตามการบริโภคผักหวานป่าควรปรุงให้สุกเสียก่อน เนื่องจากการบริโภคสด ๆ ในปริมาณมากอาจทำให้เกิดการเบื่อเมา เป็นไข้ และอาเจียนได้ การนำผักหวานป่ามาปรุงอาหารนั้นใช้ได้ทั้งส่วนที่เป็นยอดและใบอ่อน นำช่อผลอ่อน ๆ สำหรับผลแก่อาจลอกเนื้อทิ้งนำเมล็ดไปต้มรับประทานได้เช่นเดียวกับเมล็ดขนุน มีรสหวานมัน การปรุงอาหารจากผักหวานป่า นอกจากต้ม ลวก เป็นผักจิ้มน้ำพริกแล้วอาจนำไปทำแกง แกงเลียง หรือต้มจืดได้เช่นกัน

ประโยชน์ของผักหวานป่า
ผักหวานป่าถือว่าเป็นเครื่องยาไทยจำพวกผักจะใช้ส่วนรากมาทำยา รากมีรสเย็นสรรพคุณ แก้ไข้ แก้ดีพิการ แก้เชื่อมมัว แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้กระสับกระส่าย พบว่าผักหวานป่าจัดเป็นทั้งอาหารและยาประจำฤดูร้อนแก้อาการของธาตุไฟได้ตามแพทย์แผนไทย ส่วนยอดก็นิยมนำมาปรุงอาหารมีรสหวานกรอบช่วยแก้ร้อนในกระหายน้ำและระบายความร้อนหรือใช้ปรุงเป็นยาเขียวเพื่อลดไข้ ลดความร้อน ปัจจุบันพบว่ามีการนำมาพัฒนาเป็นชาผักหวานป่าทำเป็นเครื่องดื่มต้านอนุมูลอิสระ

สรรพคุณของผักหวานป่า
ส่วนของลำต้นจะใช้แก่นผักหวานต้มรับประทานน้ำเป็นยาแก้ปวดตามข้อหรือปานดงหรือจะใช้ต้นผักหวานกับต้นนมสาวเป็นยาเพิ่มน้ำนมแม่หลังคลอดบุตร รากต้มรับประทานน้ำเป็นยาเย็นแก้พิษร้อนในแก้น้ำดีพิการและแก้ปวดมดลูก

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
ลำต้น ใช้ประโยชน์ในทางเป็นพืชสมุนไพรอย่างหนึ่ง ยอดอ่อน ดอกอ่อน และ ผลอ่อนใช้ประกอบอาหารได้หลายอย่าง เช่น ต้ม ผัด แกง ทอด ส่วน ผลสุกนำมาต้มให้สุกและรับประทานเนื้อข้างใน

วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

กระเทียม ของมีประโยชน์จากก้นครัว


กระเทียม (Garlic) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Allium sativum Linn. ซึ่งครัวไทยรู้จักเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็น

การใช้กระเทียมเจียวโรยหน้าอาหาร หรือใช้เป็นส่วนประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในเครื่องแกงชนิดต่างๆ โดยเฉพาะเป็นตัวช่วยแต่งกลิ่นและรสร่วมกับมะนาวในน้ำพริกกะปิ แม้แต่พริกน้ำปลาหรือน้ำจิ้มรสแซบก็จะลืมกระเทียมไปไม่ได้ นอกจากนี้ใบและหัวกระเทียมสดๆ ยังเป็นผัก รวมถึงกระเทียมดองของอร่อย

กระเทียมยังเป็นสมุนไพรแก้ไขบรรเทาปัญหาสุขภาพของชาวบ้านมาโดยตลอด หมอพื้นบ้านไทยใช้กระเทียมสดรักษาโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน โรคบิด ป่วง แก้ไอ และกระจายโลหิต กระทั่งเป็นที่สรุปได้ว่า กระเทียมเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณเด่น 2 ประการ คือ ใช้ทารักษาโรคผิวหนัง และรับประทานแก้โรคความดันโลหิตสูง

สรรพคุณของกระเทียม มีดังนี้
1. ฆ่าเชื้อรา คือ กลาก เกลื้อน และเชื้อราที่เกิดตามเล็บ หนังศีรษะและผม
2. ฆ่าเชื้อยีสต์ชนิดที่ทำให้เกิดลิ้นขาวเป็นฝ้าในเด็กทารก และทำให้เกิดระดูขาวในหญิงที่ตั้งครรภ์ หรือกินยาคุมกำเนิด ยาปฏิชีวนะหรือยาสเตียรอยด์เป็นเวลานานๆ
3. ลดความดันโลหิตสูง
4. ลดไขมันและคอเลสเตอรอล
5. ป้องกันผนังหลอดเลือดหนาและแข็งตัว
6. ลดน้ำตาลในเลือด
7. ฆ่าหรือยับยั้งเชื้อแบคทีเรียแทบทุกชนิด กล่าวคือ มีสารอัลลิซิน ที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่มักทำให้เกิดโรคได้ถึง 15 ชนิด โดยเฉพาะยับยั้งเชื้อพวกที่ดื้อยาเพนนิซิลินได้ดีกว่าเชื้อพวกที่ไม่ดื้อยาอีกด้วย นอกจากนี้ ยังฆ่าเชื้อบิดที่มีพิษต่อลำไส้ได้ดี โดยมีสารที่สำคัญคือกาลิซิน รวมทั้งสามารถยับยั้งเชื้อบิดเทียม ซึ่งไม่รบกวนแบคทีเรียตัวอื่นที่มีประโยชน์ต่อลำไส้
8. ยับยั้งเชื้อต่างๆ เช่น เชื้อที่ทำให้เกิดฝีหนอง และใช้รักษาแผลสด แผลที่เป็นหนอง คออักเสบ ทอนซิลอักเสบ ทางเดินปัสสาวะอักเสบ เชื้อวัณโรค และเชื้อปอดบวม
9. รักษาไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่
10. เป็นยาขับเสมหะและมีฤทธิ์ขับเหงื่อและขับปัสสาวะ
11. รักษาโรคไอกรน
12. แก้หืดและโรคหลอดลม
13. แก้ธาตุพิการอาหารไม่ย่อย
14. ควบคุมโรคกระเพาะ คือมีสารเอเอส 1 ช่วยยับยั้งไม่ให้น้ำย่อยอาหารมาย่อยแผลในกระเพาะ และยังช่วยรักษาโรคตับอ่อนอักเสบชนิดรุนแรงได้ด้วย
15. ขับพยาธิต่างๆ ได้หลายชนิด ได้แก่ พยาธิเข็มหมุด พยาธิแส้ม้า พยาธิเส้นด้าย และมีรายงานทดสอบจากอินเดียว่า กระเทียมมีสารไดอัลลิลไดซัลไฟด์ มีฤทธิ์ใช้ฆ่าพยาธิไส้เดือนได้ดี
16. แก้เคล็ดขัดยอกและเท้าแพลง เพราะมีสารอัลลิซินเป็นตัวช่วยทำให้เลือดไหลเวียนมายังบริเวณที่ทาถูนวดยาได้ดีมากขึ้น
17. แก้ปวดข้อและปวดเมื่อย
18. ต่อต้านเนื้องอก
19. กำจัดพิษตะกั่ว
20. บำรุงร่างกาย ประเทศญี่ปุ่นได้ค้นพบสารในกระเทียมชื่อสคอร์ดินิน ไม่มีกลิ่น แต่มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายอย่าง รวมทั้งช่วยให้เนื้อเยื่อเจริญเติบโตและช่วยลดไขมันในร่างกาย

ยังมีผู้พบว่าในกระเทียมมีธาตุเจอร์เมเนียมค่อนข้างสูง ซึ่งมีคุณสมบัติป้องกันการเกิดมะเร็ง โรคหืด โรคไต โรคตับอ่อนและอาการท้องผูก รวมถึงมีสารชักนำวิตามินบี 1 เข้าสู่ร่างกายได้ดีขึ้นเท่าตัว โดยรวมเป็นสารอัลลิลไทอะมิน ทำให้วิตามินบี 1 ออกฤทธิ์ได้ดีขึ้นถึง 20 เท่า

วันพุธที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2561

กล้วยหอม…ผลไม้มหัศจรรย์


มีผู้เชี่ยวชาญและนักโภชนาการจำนวนไม่น้อยที่ชอบแนะนำให้ทานกล้วยหอมเป็น อาหารเช้า เพื่อให้พลังงานดีๆ แก่ร่างกายก่อนที่จะเริ่มต้นวันใหม่ จะทานพร้อมน้ำนมถั่วเหลือง เสริมด้วยธัญพืชจำพวก งาดำ จมูกข้าวสาลี ซีเรียลอบกรอบ เติมความหวานด้วยน้ำผึ้งอีกซักช้อน ก็จะทำให้คุณพร้อมลุยงานได้ดี

คุณประโยชน์ของกล้วยหอม
• กล้วยหอม มีสารอาหารที่จำเป็นและมีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย อาทิ โปรตีน วิตามินเอ วิตามินซี สารเพ็กติน รวมถึงธาตุฟอสฟอรัสและแคลเซียม บำรุงสายตาให้มองเห็นได้ชัดเจนขึ้น ยับยั้งการเกิดโรคต่างๆ ในช่องปาก ลดการเกิดตะคริว และยังเป็นผลไม้มีฤทธิ์เย็นช่วยผ่อนร้อนได้
• ในกล้อยหอมมีน้ำตาล 3 ชนิด คือ ซูโครส (sucrose) ฟรักโทส (fructose) และกลูโคส (glucose) ช่วยให้พลังงานแก่ร่างกายพร้อมนำไปใช้ทันที
• กล้วยหอมยังมีประโยชน์ช่วยให้คลายความซึมเศร้า เพราะในกล้วยหอมมี กรดอะมิโนชื่อ Tryptophan ซึ่งร่างกายจะเปลี่ยนเป็น Serotonin สารกระตุ้นที่ช่วยให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย อารมณ์สดใสและมีความสุขมากยิ่งขึ้นนั่นเอง
• วิตามินบี 6 บี 12 โพแทสเซียมและแมกนีเซียมก็มีอยู่มากในกล้วยหอม ยังช่วยผู้ที่ต้องการเลิกบุหรี่ให้ร่างกายฟื้นตัวจากการขาดสารนิโคติน
• ส่วนธาตุเหล็กในกล้วยหอมช่วยกระตุ้นการผลิตฮีโมโกลบินช่วยลดภาวะโลหิตจางได้
• ช่วยลดการเป็นแผลในกระเพาะอาหาร และอาการจุกเสียดแน่นท้อง
• เส้นใยในกล้วยหอมช่วยให้การย่อยของลำไส้เล็กทำงานดีขึ้น ระบบขับถ่ายในร่างกายทำงานได้ดี ลดปัญหาท้องผูก

สาวๆ ออฟฟิศที่อยากลด ละ เลิก ขนมจุบจิบในช่วงบ่าย หากลองทานกล้วยหอมทีละน้อยทุกๆ 2 ชั่วโมง สามารถช่วยปรับระดับน้ำตาลในเลือดและลดการอยากกินของจุกจิกลงไปได้

นี่แค่ส่วนหนึ่งของประโยชน์และคุณค่าจากผลไม้กล้วยๆ เท่านั้น ถูกและดี แถมหาทานง่ายแบบนี้ จะไม่ให้เป็นผลไม้สุดโปรดของใครหลายคนได้อย่างไร

วันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ประโยชน์ และ สรรพคุณของมะระ


หลายคนอาจจะคุ้นหูกับคำพูดที่ว่า หวานเป็นลมขมเป็นยา กันใช่ไหมล่ะคะ ประโยนชน์และสรรพคุณของมะระก็เฉดเช่นเดียวกันกับคำพูดโบร่ำโบราณนี้ค่ะ เพราะมะระก็จัดว่าเป็นสมุนไพรที่ดีนักแลอีกทั้ง สรรพคุณของมะระ ก็มีมากโข และวันนี้เราก็มีเรื่องราวของ สรรพคุณของมะระ และ ประโยชน์ของมะระ มาฝากทุกท่านกันด้วยนะคะ มาดูกันดีว่า สรรพคุณของมะระ และ ประโยชน์ของมะระ มีอะไรกันบ้าง

สรรพคุณของมะระ
อย่างแรกเลย คือ ความขมของมะระนั้นสามารถช่วยให้เราเจริญอาหาร เพราะสารขมที่อยู่ในมะระนั้นจะช่วยกระตุ้นให้น้ำย่อยออกมามากจึงทำให้รับประทานอาหารได้มากขึ้น ซึ่งเราอาจจะนำมะระไปลวกหรือเผาไฟแล้วนำมาจิ้มกับน้ำพริกก็ได้นะคะ

คุณสมบัติในการการบำบัดและรักษาโรคเบาหวานระยะเริ่มต้นด้วยสารอาหารในมะระซึ่งทำหน้าที่เพิ่มเบต้าเซลล์ในตับอ่อน โดยการกระตุ้นให้เกิดการสร้างอินซูลิน (ฮอร์โมนควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด) อีกทั้งมะระยังมีเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ย่อยน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรต สารอาหารจะผสมอยู่ในรูปของโปรตีนซึ่งสามารถบรรเทาอาการเจ็บป่วยที่เกิดจากโรคตับและโรคเบาหวานได้ มะระยังสามารถแก้โรคตับอักเสบ ปวดหัวเข่า ม้ามอักเสบได้ค่ะ โดยรับประทานมะระดิบเป็นประจำจะช่วยได้ค่ะ

นอกจากนี้มะระยังมีคุณค่าทางอาหารมากมายเพราะอุดมไปด้วยฟอสฟอรัส แคลเซียม วิตามินซี วิตามินบี1 - บี3 , เบต้าแคโรทีน , ไฟเบอร์ , ธาตุเหล็ก , โพแทสเซียม , เป็นต้น

เมนูอาหารจากมะระ ได้แก่ ต้มจืดมะระยัดไส้ , มะระต้มจับฉ่าย , ผัดะมะระหมูสับ , มะระผัดกุ้ง , มะระผัดน้ำมันหอย เป็นต้น หากจะลดความขมของมะระต้องลวกหรือต้มนาน ๆ โดยคลุกเคล้ากับเกลือก่อนที่จะนำไปปรุงอาหารหรือต้มน้ำแล้วเทน้ำทิ้ง 1 ครั้ง ก่อนนำมารับประทานจะช่วยให้กินมะระได้อย่างสบายใจ

แถมท้ายอีกนิดนะค่ะ ด้วยข้อควรระวัง เราทานมะระที่ดิบ ๆ กันได้ แต่ห้ามรับประทานมะระที่มีผลสุกนะค่ะ เพราะอาจทำให้คลื่นไส้ อาเจียนได้ค่ะเนื่องจากมีสารซาโปนินอยู่มาก ซึ่งสารนี้จะทำให้เป็นพิษต่อร่างกายค่ะ อีกอย่างอย่าทานมะระมากจนเกินไปนะค่ะ เพราะจะทำให้ท้องเสีย เนื่องจากมีฤทธิ์เป็นยาระบายด้วยค่ะ

วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2561

ตำลึง สรรพคุณไม่ไก่กา แม้เป็นผักริมรั้วธรรมดา สรรพคุณทางยาอย่างเยอะ !


ตำลึงเป็นผักริมรั้วที่หากินได้ง่าย มีให้กินตลอดทั้งปี แถมยังราคาถูก นำมาประกอบอาหารก็ทำได้หลากหลายเมนู และหลายคนก็เคยกินตำลึงมาไม่รู้ตั้งเท่าไร แต่เคยทราบสรรพคุณของตำลึงกันไหมคะว่า ผักสมุนไพรตำลึง สรรพคุณเขาแพรวพราวขนาดไหน เอาเป็นว่ากระปุกดอทคอมจะพามาดูประโยชน์ของตำลึง รวมไปถึงสรรพคุณทางยาของตำลึงกันค่ะ

ตำลึง ชื่อทางวิทยาศาสตร์ สรรพคุณมีอะไรบ้าง
ต้นตำลึงมักจะขึ้นตามรั้วบ้าน ที่สำคัญมักจะขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยเฉพาะในฤดูฝน แต่เห็นตำลึงบ้าน ๆ อย่างนี้ก็มีชื่อทางวิทยาศาสตร์กับเขาเหมือนกันนะคะ แถมตำลึงยังมีชื่อสามัญ และชื่อเรียกตามท้องถิ่นอีกหลายชื่อ ตามนี้เลย

ตำลึง ชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Coccinia grandis Voigt และยังมีชื่อสามัญของตำลึงหรือชื่อภาษาอังกฤษว่า Ivy gourd ด้วยนะคะ ส่วนตำลึงในชื่อบ้าน ๆ นั้นเรียกกันอย่างหลากหลาย ทั้งตำลึง สี่บาท (ภาคกลาง) ผักแคบ (ภาคเหนือ) ผักตำนิน (ภาคอีสาน), แคเด๊าะ (แม่ฮ่องสอน) เป็นต้น

ลักษณะทางพฤษศาสตร์ของตำลึง
ตำลึงจัดเป็นพืชในตระกูลไม้เลื้อย มีใบเป็นใบเดี่ยว มีมือเกาะ ใบตำลึงจะแผ่เว้าเป็น 5 แฉก ขนาดใบตำลึงมีความกว้างประมาณ 5-8 เซนติเมตร โคนใบเป็นรูปหัวใจ ปลายใบแหลมมน ผิวใบเกลี้ยง ก้านใบยาว 3-6 เซนติเมตร

ดอกตำลึงมีสีขาว เป็นดอกเดี่ยว แยกเพศ ดอกตำลึงเพศผู้จะมีขนาด 4-6 เซนติเมตร 1 ดอก มีอยู่ 5 กลีบ เกสรตัวผู้ 3 อัน ส่วนดอกตำลึงเพศเมีย เกสรจะแยกเป็น 3-5 แฉก ส่วนกลีบดอกเหมือนดอกตำลึงเพศผู้ทุกประการ

ตำลึงมีผลด้วยนะคะ ผลตำลึงมีรูปทรงป้อม ขอบขนาน ขนาดผลกว้างประมาณ 2.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 5 เซนติเมตร ถ้าผลตำลึงอ่อนจะมีสีเขียว ผลตำลึงแก่จะมีสีส้มออกแดง ข้างในผลตำลึงจะมีเมล็ดลักษณะแบนรี ขนาดประมาณ 2-3 มิลลิเมตร จำนวนมาก

ตำลึง สรรพคุณทางยาก็น่าเด็ดไม่น้อย
สรรพคุณของตำลึงมีประโยชน์แทบจะทุกส่วนของต้นเลยก็ว่าได้ โดยสามารถจำแนกสรรพคุณทางยาของตำลึงได้ดังนี้
- ใบ มีรสเย็น สรรพคุณดับพิษร้อน ถอนพิษ แก้แสบคัน บรรเทาเริม งูสวัด โดยนำใบมาขยี้คั้นเอาแต่น้ำ แล้วทาบริเวณที่เป็น
- เถา มีรสเย็น สรรพคุณช่วยรักษาโรคตาเจ็บ ใช้แก้ตาฟาง ตาช้ำ โดยใช้เถาโขลกพอแหลก แล้วนำมาประคบตา
- ดอก ใช้แก้คัน คั้นเอาแต่น้ำ มาทาบริเวณที่คัน
- ผล รักษาโรคผิวหนัง รักษาอาการอักเสบของหลอดลม และช่วยลดน้ำตาลในเลือด โดยคั้นน้ำจากผลสดมาดื่มวันละ 2 ครั้ง
- เมล็ด นำมาตำกับน้ำมันมะพร้าว ใช้แก้หิด
- ราก ใช้ต้มกับน้ำดื่มลดไข้ ลดอาเจียน
- ต้น ใช้กำจัดกลิ่นตัว น้ำต้มจากต้นตำลึงรักษาเบาหวานได้

วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2561

ผักโขมผักพื้นบ้านชั้นดี


พืชผักพื้นบ้านชั้นดีของคนไทย ที่ปู่ย่าตาทวดของเรารู้จักกินและใช้ประโยชน์มานาน บางท้องที่เรียกว่า “ผักขม” บางคนก็เรียกว่า ผักโขมบ้าน หรือ Amaranth เป็นพืชล้มลุกพุ่มเตี้ยที่แตกกิ่งเล็กกิ่งน้อยออกไปมากมาย พร้อมกับมีหนามแหลมคมซ่อนไว้ที่ซอกใบ มีทั้งแบบที่ลำต้นเป็นสีเขียว และลำต้นเป็นสีน้ำตาลแดง ใบเป็นใบเดี่ยวรูปไข่ ขอบใบหยักเล็กน้อย ดอกออกเป็นช่อสีม่วงปนเขียว เมล็ดมีขนาดเล็กเป็นสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ ผักพื้นบ้านชั้นดีจากแดนอีสาน มากด้วยกากใย และเบต้าแคโรทีนที่ซ่อนไว้ในความขม

ชาวพื้นเมืองโบราณของเม็กซิโกนาม “แอสแท็ก” รู้จักและกินเจ้าผักโขมนี้กันมานานเกินกว่า 2,000 ปีแล้ว แต่เขากินเมล็ดกัน ส่วนพี่ไทยเราชอบใบเขียวๆ ที่อุดมด้วยวิตามินเอ กรดอะมิโน และสารอาหารตัวสำคัญๆ ไว้อย่างสุดยอด

ในแง่ของคุณค่าทางโภชนาการแล้ว ถือว่าเป็นที่สุดของพืชผักสมุนไพรอีกชนิดหนึ่ง เพราะมากด้วยสารอาหารสำคัญไว้อย่างเพียบพร้อมทุกตัว และแต่ละตัวก็มีปริมาณสูงมาก อย่างวิตามินซีที่ให้ถึง 120 มก. ฟอสฟอรัสสูงถึง 76 มก. และแคลเซียม 341 มก. ในปริมาณแค่ 100 กรัมเท่านั้น นี่ยังไม่รวมธาตุอื่นๆ อย่างโปรตีน วิตามินบี 1-บี 2 หรือธาตุเหล็ก ที่อัดแน่นอยู่ในใบเขียวเล็กๆ กว้างแค่ 3-5 ซม. เท่านั้น

ที่สุดจริงๆ ต้องเป็นกากใยอาหารที่เป็นตัวช่วยดักและจับสารไนไตรต์ที่ปนเปื้อนมากับน้ำดื่ม หรืออาหารจำพวกเนื้อที่ต้องผ่านการหมัก อย่างไส้กรอก แหนม ซึ่งอาหารเล่านี้มีสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งได้ ดังนั้น การกินผักโขมบ้านจึงเป็นการลดความเสี่ยงจากการเป็นมะเร็ง รวมทั้งยังได้เพื่อนคู่หูชั้นดีอย่างเบต้าแคโรทีน ตัวพิฆาตมะเร็งร้ายในปริมาณที่สูงถึง 558.76 มก. มาช่วยอีกแรง ก็ยิ่งทำให้โอกาสเป็นมะเร็งแทบจะเป็นศูนย์สนิททีเดียว

ประโยชน์ทางยาของผักโขมบ้านคือ ใบสดใช้ตำพอก ช่วยรักษาแผลพุพอง ลำต้นกินแก้อาการจุกเสียด แน่นหน้าอก ทั้งยังแก้ไอ แก้อาการตกเลือด และช่วยขับปัสสาวะได้อีกต่างหาก

เม็ดแมงลัก สมุนไพรเด็ด ช่วยให้หุ่นสวย สุขภาพดี

เม็ดแมงลัก ไม่ได้มี สรรพคุณ ในการลดน้ำหนักโดยตรง แต่หากต้องการตัวช่วยเพื่อควบคุมการรับประทานอาหาร และช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานดีขึ้น เม็ดแมง...