ร้านอาหาร ไทย จีน อิสาน และยุโรป ที่ขึ้นชื่อในเรื่องของความอร่อย ใจกลางเมืองอุบลราชธานี
วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
กระเทียม ของมีประโยชน์จากก้นครัว
กระเทียม (Garlic) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Allium sativum Linn. ซึ่งครัวไทยรู้จักเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็น
การใช้กระเทียมเจียวโรยหน้าอาหาร หรือใช้เป็นส่วนประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในเครื่องแกงชนิดต่างๆ โดยเฉพาะเป็นตัวช่วยแต่งกลิ่นและรสร่วมกับมะนาวในน้ำพริกกะปิ แม้แต่พริกน้ำปลาหรือน้ำจิ้มรสแซบก็จะลืมกระเทียมไปไม่ได้ นอกจากนี้ใบและหัวกระเทียมสดๆ ยังเป็นผัก รวมถึงกระเทียมดองของอร่อย
กระเทียมยังเป็นสมุนไพรแก้ไขบรรเทาปัญหาสุขภาพของชาวบ้านมาโดยตลอด หมอพื้นบ้านไทยใช้กระเทียมสดรักษาโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน โรคบิด ป่วง แก้ไอ และกระจายโลหิต กระทั่งเป็นที่สรุปได้ว่า กระเทียมเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณเด่น 2 ประการ คือ ใช้ทารักษาโรคผิวหนัง และรับประทานแก้โรคความดันโลหิตสูง
สรรพคุณของกระเทียม มีดังนี้
1. ฆ่าเชื้อรา คือ กลาก เกลื้อน และเชื้อราที่เกิดตามเล็บ หนังศีรษะและผม
2. ฆ่าเชื้อยีสต์ชนิดที่ทำให้เกิดลิ้นขาวเป็นฝ้าในเด็กทารก และทำให้เกิดระดูขาวในหญิงที่ตั้งครรภ์ หรือกินยาคุมกำเนิด ยาปฏิชีวนะหรือยาสเตียรอยด์เป็นเวลานานๆ
3. ลดความดันโลหิตสูง
4. ลดไขมันและคอเลสเตอรอล
5. ป้องกันผนังหลอดเลือดหนาและแข็งตัว
6. ลดน้ำตาลในเลือด
7. ฆ่าหรือยับยั้งเชื้อแบคทีเรียแทบทุกชนิด กล่าวคือ มีสารอัลลิซิน ที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่มักทำให้เกิดโรคได้ถึง 15 ชนิด โดยเฉพาะยับยั้งเชื้อพวกที่ดื้อยาเพนนิซิลินได้ดีกว่าเชื้อพวกที่ไม่ดื้อยาอีกด้วย นอกจากนี้ ยังฆ่าเชื้อบิดที่มีพิษต่อลำไส้ได้ดี โดยมีสารที่สำคัญคือกาลิซิน รวมทั้งสามารถยับยั้งเชื้อบิดเทียม ซึ่งไม่รบกวนแบคทีเรียตัวอื่นที่มีประโยชน์ต่อลำไส้
8. ยับยั้งเชื้อต่างๆ เช่น เชื้อที่ทำให้เกิดฝีหนอง และใช้รักษาแผลสด แผลที่เป็นหนอง คออักเสบ ทอนซิลอักเสบ ทางเดินปัสสาวะอักเสบ เชื้อวัณโรค และเชื้อปอดบวม
9. รักษาไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่
10. เป็นยาขับเสมหะและมีฤทธิ์ขับเหงื่อและขับปัสสาวะ
11. รักษาโรคไอกรน
12. แก้หืดและโรคหลอดลม
13. แก้ธาตุพิการอาหารไม่ย่อย
14. ควบคุมโรคกระเพาะ คือมีสารเอเอส 1 ช่วยยับยั้งไม่ให้น้ำย่อยอาหารมาย่อยแผลในกระเพาะ และยังช่วยรักษาโรคตับอ่อนอักเสบชนิดรุนแรงได้ด้วย
15. ขับพยาธิต่างๆ ได้หลายชนิด ได้แก่ พยาธิเข็มหมุด พยาธิแส้ม้า พยาธิเส้นด้าย และมีรายงานทดสอบจากอินเดียว่า กระเทียมมีสารไดอัลลิลไดซัลไฟด์ มีฤทธิ์ใช้ฆ่าพยาธิไส้เดือนได้ดี
16. แก้เคล็ดขัดยอกและเท้าแพลง เพราะมีสารอัลลิซินเป็นตัวช่วยทำให้เลือดไหลเวียนมายังบริเวณที่ทาถูนวดยาได้ดีมากขึ้น
17. แก้ปวดข้อและปวดเมื่อย
18. ต่อต้านเนื้องอก
19. กำจัดพิษตะกั่ว
20. บำรุงร่างกาย ประเทศญี่ปุ่นได้ค้นพบสารในกระเทียมชื่อสคอร์ดินิน ไม่มีกลิ่น แต่มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายอย่าง รวมทั้งช่วยให้เนื้อเยื่อเจริญเติบโตและช่วยลดไขมันในร่างกาย
ยังมีผู้พบว่าในกระเทียมมีธาตุเจอร์เมเนียมค่อนข้างสูง ซึ่งมีคุณสมบัติป้องกันการเกิดมะเร็ง โรคหืด โรคไต โรคตับอ่อนและอาการท้องผูก รวมถึงมีสารชักนำวิตามินบี 1 เข้าสู่ร่างกายได้ดีขึ้นเท่าตัว โดยรวมเป็นสารอัลลิลไทอะมิน ทำให้วิตามินบี 1 ออกฤทธิ์ได้ดีขึ้นถึง 20 เท่า
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
เม็ดแมงลัก สมุนไพรเด็ด ช่วยให้หุ่นสวย สุขภาพดี
เม็ดแมงลัก ไม่ได้มี สรรพคุณ ในการลดน้ำหนักโดยตรง แต่หากต้องการตัวช่วยเพื่อควบคุมการรับประทานอาหาร และช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานดีขึ้น เม็ดแมง...
-
ปลากะพงจัดอยู่ในปลาน้ำจืด ที่มี คุณค่าทางอาหาร สูงกว่าปลาทั่วๆ ไป เนื่องจากปลาชนิดอื่นๆ จำนวน 100 กรัม จะให้โปรตีนอยู่ที่ 17-22 กรัม ในขณะท...
-
หากจะพูดถึงอาหารทะเลที่คนไทยส่วนใหญ่คุ้นเคยกันมากที่สุดคงหนีไม่พ้น "กุ้ง" (Shrimp) สุดยอดวัตถุดิบหลักที่มีประโยชน์ ซึ่งเมนูสร้างช...
-
สลัดหลวงพระบาง (ຍຳ ຜັກສະຫຼັດ ຫຼວງພະບາງ) นั้นเป็นอาหารที่มีชื่อบ่งบอกถึงภูมิศาสตร์ของอาหารว่าเป็นของเมืองหลวงพระบาง แต่ที่มาของอาหารจานนี้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น