ร้านอาหาร ไทย จีน อิสาน และยุโรป ที่ขึ้นชื่อในเรื่องของความอร่อย ใจกลางเมืองอุบลราชธานี
วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
ผักหวานป่าผักบ้านๆที่ประโยชน์ล้นหลาม
ผักหวานป่า ถือว่าเป็นอีกหนึ่งพืชผักสมุนไพรที่มีประโยชน์และสรรพคุณมาก ๆ เลย คนส่วนใหญ่ชอบนำ ผักหวานป่า มาจิ้มกับน้ำพริก แต่วันนี้เราก็มีเรื่องของ สรรพคุณของผักหวานป่า และ ประโยชน์ของผักหวานป่า มาฝากกันอีกเช่นเคย เพื่อให้ทุกคนได้รับรู้ขึ้นสิ่งดี ๆ ที่ร่างกายของคนเราควรจะได้รับจากพืชผักสมุนไพรต่าง ๆ ว่าแล้วเราก็มาทำความรู้จักกับ สรรพคุณของผักหวานป่า และ ประโยชน์ของผักหวานป่า กันบ้างดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง และมีประโยชน์ต่อร่างกายเราอย่างไร และช่วยรักษาโรคอะไรได้บ้างนะ มาดูกันเลยดีกว่ากับ สรรพคุณของผักหวานป่า และ ประโยชน์ของผักหวานป่า
คุณค่าทางอาหารของผักหวานป่า
ผักหวานป่าจัดเป็นผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงชนิดหนึ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านแหล่งโปรตีน วิตามินซี และพลังงาน นอกจากนี้ยังมีปริมาณเยื่อใยพอสมควรช่วยในการขับถ่ายให้ดีขึ้น ในยอดและใบสดที่รับประทานได้ 100 กรัม จะประกอบด้วยน้ำ 76.6 กรัม โปรตีน 8.2 กรัม คาร์โบไฮเดท 10 กรัม เยื่อใย 3.4 กรัม เถ้า 1.8 กรัม แคโรทีน 1.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 115 มิลลิกรัม และค่าพลังงาน 300 กิโลจูล (KJ) อย่างไรก็ตามการบริโภคผักหวานป่าควรปรุงให้สุกเสียก่อน เนื่องจากการบริโภคสด ๆ ในปริมาณมากอาจทำให้เกิดการเบื่อเมา เป็นไข้ และอาเจียนได้ การนำผักหวานป่ามาปรุงอาหารนั้นใช้ได้ทั้งส่วนที่เป็นยอดและใบอ่อน นำช่อผลอ่อน ๆ สำหรับผลแก่อาจลอกเนื้อทิ้งนำเมล็ดไปต้มรับประทานได้เช่นเดียวกับเมล็ดขนุน มีรสหวานมัน การปรุงอาหารจากผักหวานป่า นอกจากต้ม ลวก เป็นผักจิ้มน้ำพริกแล้วอาจนำไปทำแกง แกงเลียง หรือต้มจืดได้เช่นกัน
ประโยชน์ของผักหวานป่า
ผักหวานป่าถือว่าเป็นเครื่องยาไทยจำพวกผักจะใช้ส่วนรากมาทำยา รากมีรสเย็นสรรพคุณ แก้ไข้ แก้ดีพิการ แก้เชื่อมมัว แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้กระสับกระส่าย พบว่าผักหวานป่าจัดเป็นทั้งอาหารและยาประจำฤดูร้อนแก้อาการของธาตุไฟได้ตามแพทย์แผนไทย ส่วนยอดก็นิยมนำมาปรุงอาหารมีรสหวานกรอบช่วยแก้ร้อนในกระหายน้ำและระบายความร้อนหรือใช้ปรุงเป็นยาเขียวเพื่อลดไข้ ลดความร้อน ปัจจุบันพบว่ามีการนำมาพัฒนาเป็นชาผักหวานป่าทำเป็นเครื่องดื่มต้านอนุมูลอิสระ
สรรพคุณของผักหวานป่า
ส่วนของลำต้นจะใช้แก่นผักหวานต้มรับประทานน้ำเป็นยาแก้ปวดตามข้อหรือปานดงหรือจะใช้ต้นผักหวานกับต้นนมสาวเป็นยาเพิ่มน้ำนมแม่หลังคลอดบุตร รากต้มรับประทานน้ำเป็นยาเย็นแก้พิษร้อนในแก้น้ำดีพิการและแก้ปวดมดลูก
ส่วนที่ใช้ประโยชน์
ลำต้น ใช้ประโยชน์ในทางเป็นพืชสมุนไพรอย่างหนึ่ง ยอดอ่อน ดอกอ่อน และ ผลอ่อนใช้ประกอบอาหารได้หลายอย่าง เช่น ต้ม ผัด แกง ทอด ส่วน ผลสุกนำมาต้มให้สุกและรับประทานเนื้อข้างใน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
เม็ดแมงลัก สมุนไพรเด็ด ช่วยให้หุ่นสวย สุขภาพดี
เม็ดแมงลัก ไม่ได้มี สรรพคุณ ในการลดน้ำหนักโดยตรง แต่หากต้องการตัวช่วยเพื่อควบคุมการรับประทานอาหาร และช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานดีขึ้น เม็ดแมง...
-
ปลากะพงจัดอยู่ในปลาน้ำจืด ที่มี คุณค่าทางอาหาร สูงกว่าปลาทั่วๆ ไป เนื่องจากปลาชนิดอื่นๆ จำนวน 100 กรัม จะให้โปรตีนอยู่ที่ 17-22 กรัม ในขณะท...
-
หากจะพูดถึงอาหารทะเลที่คนไทยส่วนใหญ่คุ้นเคยกันมากที่สุดคงหนีไม่พ้น "กุ้ง" (Shrimp) สุดยอดวัตถุดิบหลักที่มีประโยชน์ ซึ่งเมนูสร้างช...
-
สลัดหลวงพระบาง (ຍຳ ຜັກສະຫຼັດ ຫຼວງພະບາງ) นั้นเป็นอาหารที่มีชื่อบ่งบอกถึงภูมิศาสตร์ของอาหารว่าเป็นของเมืองหลวงพระบาง แต่ที่มาของอาหารจานนี้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น